โครงการนี้เป็นการต่อยอดและขยายผลจากโครงการนำร่องด้านการจัดการรีไซเคิลบนเกาะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนจากมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ทั้งในส่วนของค่าขนส่งขยะรีไซเคิลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ดำเนินการประกอบด้วยเกาะสำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด เกาะเสม็ด เกาะล้าน และเกาะสีชัง โดยมีเป้าหมายหลักในการสนับสนุนการคัดแยกขยะ และการขนส่งเศษวัสดุรีไซเคิลออกจากเกาะ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปีปัจจุบัน โครงการได้มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการยืนยันและรายงานข้อมูลการขนส่งขยะรีไซเคิลอย่างเป็นระบบ ลดความจำเป็นในการมีผู้ประสานงานประจำเกาะและส่งเสริมการดำเนินงานของผู้เก็บของเก่าให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
ประเทศไทยมีความโดดเด่นทางธรรมชาติและวัฒนธรรม มีหมู่เกาะที่สวยงามในภาคตะวันออกและภาคใต้ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญระดับโลก หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเริ่ม ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2024 การท่องเที่ยวกลับมามีบทบาทสําคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกครั้ง มี นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณ 30 ล้านคน สร้างรายได้รวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น สัดส่วนสําคัญของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทําให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สามารถจ้างงานได้หลายล้านคน และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ผ่านมายังมี ปัญหาด้านความยั่งยืน ในขณะที่คะแนนของดัชนีวัดขีดความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยว (Travel & Tourism Competitiveness Index - TTCI) ประจําปี2024 ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 47 ของโลก แต่ คะแนนด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นท้าทาย โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 98 ในด้านนี้ซึ่ง สะท้อนถึงความจําเป็นในการพัฒนานโยบายและการบริหารจัดการเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาว
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สําคัญประการหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวของไทยคือการจัดการขยะ เนื่องจากแหล่ง ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยที่สําคัญส่วนหนึ่งเป็นเกาะ (ตารางที่ 1) แต่เกาะเหล่านี้ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ห่างไกลทําให้ขาดระบบการจัดการขยะที่ดีแม้ว่าการเก็บขนและกําจัดขยะจะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แต่ในทางปฏิบัติอปท. ขนาดเล็ก โดยเฉพาะที่ยังเป็นองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) นั้นยังไม่มีศักยภาพในการกําจัดขยะที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง การศึกษาที่ผ่านมาของศูนย์วิจัยระบบเศรษฐกิจ หมุนเวียนเพื่อประเทศไทยปลอดขยะ (Circular Economy for Waste-free Thailand) หรือ CEWT สํานักวิชา วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พบว่าการส่งเสริมให้มีการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างจริงจังเป็น องค์ประกอบสําคัญที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะและแบ่งเบาภาระของท้องถิ่น
เพื่อทดลองแก้ไขปัญหาตามตัวแบบทางเศรษฐกิจแบบ Bio-Circular-Green หรือ BCG Economy โดย อาศัยกลไกที่ให้ผู้ผลิตแสดงความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น (Extended Producer Responsibility) หรือ EPR ในการอุด ช่องว่างและช่วยให้ห่วงโซ่การรีไซเคิลของประเทศไทยมีความสมบูรณ์มากขึ้น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจึงได้จัดทํา “โครงการจัดการขยะรีไซเคิลบนเกาะ-อ่าวไทยฝั่งตะวันออก” ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิโคคา- โคล่า ประเทศไทย (มูลนิธิฯ) ระหว่างเดือนสิงหาคม 2564 ถึงกรกฎาคม 2565 โดยมีแหล่งท่องเที่ยวแบบเกาะใน ภาคตะวันออก 3 แห่ง ได้แก่ เกาะช้าง เกาะหมาก และเกาะสีชังเป็นพื้นที่เป้าหมายสําหรับการสนับสนุนการเก็บ รวบรวมและขนส่งเศษวัสดุเพื่อนําไปสู่กระบวนการรีไซเคิล
ดังนั้น เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผลการดําเนินการศูนย์วิจัย CEWT มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจึงได้ จัดทําข้อเสนอโครงการนี้ขึ้นภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2565 โดยโครงการนี้จะดําเนินการขยายผลในเกาะอื่น ๆ ในภาค ตะวันออก และพัฒนาแนวทางการอุดหนุนผู้ประกอบการบนเกาะให้สามารถเก็บรวบรวมเศษวัสดุจากเกาะมาใช้ ประโยชน์ใหม่ได้ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติและแนวนโยบาย BCG Economy ของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด